โดนใจเต็มๆ “ให้ยืม ไม่ใช่ให้ทาน คืนกันบ้างก็ได้” ผล ก ร ร ม ที่ตามทัน



โดนใจชาวเน็ตเต็มๆ “ให้ยืม ไม่ใช่ให้ทาน คืนกันบ้างก็ได้” ผล ก ร ร ม ที่ตามทัน

ยืมเงินแล้วไม่คืน บทความให้ดูถ่ายทอดลงบนเพจ Dungtrin โดย ดังตฤณ หรือ ศรันย์ ไมตรีเวช นักคิดนักเขียนแนวธรรมะสุดโด่งดัง ที่เป็นเจ้าของผลงานดีๆมากมายหลายอย่าง ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในช่วงขณะหนึ่ง

และทางด้านล่าสุดเขาให้เขียนหัวข้อไว้ว่า ยืมเงินแล้วไม่คืน จะได้รับผล ก ร ร ม อย่างไร

ผล ก ร ร ม ของการยืมเงินแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน จะแปรเปลี่ยนไปตามเจตนารมณ์ของผู้ที่ยืม บางคนยืมแล้วแต่มีเจตนาที่จะไม่คืน บางคนก็ยืมแล้วแต่ยังไม่มีที่จะคืนจริงๆ ผล ก ร ร ม นั้นย่อมแตกต่างกันออกไป บางคนก็ผลัดไปเรื่อย ผลัดแล้วผลัดอีก ไม่มีเงินคืน แต่มีรูปร้านอาหารหรู เที่ยวต่างประเทศได้ ตรงนี้ก็ไม่เข้าใจตรรกะความคิดของคนที่ยืมเงินเหมือนกัน


แต่ในทางธรรมคือหากถ้าเรายกหนี้ให้เขา ถือว่าเป็นการสร้างบุญให้กับตัวเรา ให้ลองตั้งคำถามดูว่า สมควรที่จะโกรธตัวเองหรือไม่ที่ให้เขายืมเงิน ลองไปอ่านเนื้อหาเต็มๆเลยฉบับนี้ก็ได้เลยครับ



ยืมเงินแล้วไม่คืน

ผลอาจไม่เหมือนกัน

ต้องดูที่ตัว ก ร ร ม ของแต่ละคน

เมื่อรู้ว่า ก ร ร ม เป็นอย่างไร

ก็จะพออนุมานถูกว่า

ผล ก ร ร ม น่าจะประมาณไหน
รูปแบบของ ก ร ร ม

แปรไปตามเจตนา

รวมทั้งความสามารถ

ที่จะทำให้สำเร็จตามเจตนาด้วย เช่น
บางคนยืมด้วยความตั้งใจคืน

อาจมีข้อสัญญาชัดเจนว่า

จะคืนเมื่อใด ให้หรือไม่ให้ดอกเบี้ย

แล้วคืนได้ตามนั้นพร้อมของแถมตามข้อตกลง

ผลที่เกิดขึ้นทันที

คือความผูกพันในทางดี

เป็นที่น่าเชื่อถือสำหรับกันและกัน

ฝ่ายให้ ถือว่าได้บุญที่ให้โอกาส

ฝ่ายรับ ถือว่าได้บุญที่ได้ทำตามที่พูด

มีความสุข มีความเป็นผู้ใหญ่ด้วยกันทั้งคู่

บางคนยืมด้วยการตั้งใจคืน

เสร็จแล้วคืนไม่ได้ ชนิดสุดวิสัย

อย่างนี้ไม่ได้ตั้งใจ โ ก ง

ไม่ได้ผิดศีลข้อ ๒


แต่ผลที่เกิดขึ้นทันทีในชาติปัจจุบัน

คือ ความทรมานใจ

การขาดความนับถือตัวเอง

และการไม่เป็นที่น่าเชื่อถือของคนอื่น

ส่วนผลในชาติถัดไปก็พอสมน้ำสมเนื้อ

เช่นที่ให้เงินใครยืมแล้วไม่ได้คืน

เพราะเหตุสุดวิสัยของลูกหนี้ เป็นต้น




บางคนยืมด้วยความตั้งใจเรื่อยๆมาเรียงๆ

ไม่ ฟั น ธง ไม่แน่ใจว่าจะคืนเมื่อไร

คิดเผื่อไว้แค่แผ่วๆว่า เดี๋ยวมีมากๆค่อยให้

แบบนี้เหมือนก้ำกึ่ง

เพราะทำไปๆมีสิทธิ์พลิกจาก ‘เดี๋ยวจะคืน’

เป็น ‘ไม่คืนดีกว่า’ เอาได้ง่ายๆ


ถึงจุดหนึ่งคนพวกนี้จะลืมความสัมพันธ์เก่าๆหมด

พอเห็นตัวเลขในบัญชีที่คืนได้

แต่เกิดความเสียดาย


ความตระหนี่เข้าครอบงำจิตใจ

รู้สึกขึ้นมาว่าอยู่ในบัญชีกุ แปลว่าเงินกุ

เรื่องอะไรจะให้มันหายไปอยู่ในมือคนอื่น

ความสำคัญมั่นหมายว่า ‘ของกุ’

ทั้งๆที่ไม่ใช่นั่นแหละ

คือมุขเด็ดที่กิเลสบงการให้ก่อบาปกันดื้อๆ

ผลทันทีคือมีจิตอ่อนแอ คิดอะไรแบบเด็กๆ

อยู่บนเส้นทางของคนเหลวไหล

ข้างหน้าจึงสมควรกับชะตาที่ดูเหลวไหลไร้เหตุผล

วันหนึ่งเหมือนมีทรัพย์ที่ยั่งยืน

อีกวันกลับมลายหายไปราวกับความฝัน เป็นต้น

บางคนยืมด้วยความตั้งใจไม่คืนตั้งแต่แรก

แต่มาหว่านล้อมล่อหลอกว่าจะคืน

พร้อมดอกเบี้ยมหาศาลบานตะไท

ที่มายืมตรงนี้ก็เพียงเพราะ

อยากประชดแบงก์ที่กู้ยากกู้เย็นนัก


อันนี้ผิดศีลข้อ ๒ เต็มๆ

เพราะขึ้นต้นด้วยเจตนาถือเอาทรัพย์

ที่เจ้าของมิได้ยกให้

และการผิดแบบนี้แถมพกข้อ ๔ มาด้วย

ฉะนั้น ในที่ที่ ก ร ร ม เผล็ดผล
โ ท ษ สถานเบาในโลกมนุษย์

คือต้องเหมารวมทั้งผลของ

การผิดข้อ ๒ และ ๔ รวมกันสองกระทง

ผลของข้อ ๒ คือเป็นผู้มีทรัพย์พินาศด้วยเหตุ ร้ า ย

ผลของข้อ ๔ คือเป็นผู้ถูกหลอก ลวง ถูกใส่ ร้ า ย

พูดง่ายๆว่า มีสิทธิ์เสียทั้งทรัพย์

เสียทั้งชื่อเสียง ด้วยการถูกใส่ ร้ า ย ใส่ไคล้

หรือถูกต้มตุ๋น ล่อ ลวง ได้สารพัด

แต่ข้อเท็จจริง เป็นเช่นที่พระพุทธเจ้าตรัส

คือ คน โก หก เป็นนิตย์

ที่จะทำชั่วอะไรไม่ได้นั้นไม่มี

ยิ่งถ้ามาถึงขั้นโกหกเพื่อเชิดเงินคนอื่นได้


ทำให้เขาเดือด ร้อนหน้าตาเฉยได้

ก็แปลว่าต้องทำ บ า ป ร้ า ย กาจได้หนักกว่านี้ไปเรื่อยๆ

ฉะนั้น โทษทัณฑ์ที่แท้จริง

ก่อนจะมีสิทธิ์ได้กลับมาเป็นมนุษย์

จึงน่ากลัวกว่าที่เราเห็นๆกันขณะเป็นมนุษย์
ในฐานะคนถูก โ กง

ก็ต้องระลึกด้วยว่า

เกมก ร ร ม ยังไม่จบ

คนถูกโกงก็ต้องมี ก ร ร ม ในขั้นต่อไป

เมื่อทวงแล้วไม่คืน

เมื่อฟ้องแล้วไม่สำเร็จ

(เพราะมักไม่มีสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรกัน)

ที่สุดก็เหลือ ก ร ร ม ทางใจ

จะคุมแค้น อยากลงมือแก้ แ ค้น ให้หาย เ จ็ บ ใจ

หรือจะเลือกเชื่อว่านี่เป็นโอกาสดี

ชาตินี้ได้รู้จักศาสนาที่สอนเรื่องเหตุและผล

ทำเหตุอย่างไรมา ก็ต้องได้ผลอย่างนั้นบ้าง

รู้แล้วเราจะเลือกต่อ เ ว ร หรือหยุด เ ว ร


ทางโลกเหมือนยกให้เขาได้เงินไปฟรีๆ

แต่ทางธรรมคือยกหนี้ ก ร ร ม ให้เขารับไปแบกแทน

ในเมื่อมีตัว..ตัวแทนมารับช่วงถึงที่

เราสมควรแค้นเคืองหรือขอบคุณ

ขอขอบคุณ : Dungtrin

0 comments:

Post a Comment