ทนายดัง โพสต์ทันที หลัง คนลงทะเบียนรับเงิน 15000 ต้องจ่ายเงินคืนรัฐ




ทนายดัง โพสต์ทันที หลัง คนลงทะเบียนรับเงิน 15000 ต้องจ่ายเงินคืนรัฐ

เป็นอีกหนึ่งเรื่องราวที่สร้างความกังวลใจให้กับประชาชนเป็นอย่างมาก หลังจากที่ได้มีผู้ออกมาเตือนเกี่ยวกับเงินที่ภาครัฐได้เปิดให้ลงทะเบียนเพื่อรับฟรี จากกรณีที่รัฐบาลออกมาตรการเยียวยา แรงงาน ลูกจ้างชั่วคราว และอาชีพอิสระ ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตcovid-19 ด้วยการสนับสนุนเงิน 5000 บาท 3 เดือน ซึ่งจะเปิดให้ลงทะเบียนผ่าน เว็บไซต์เราไม่ทิ้งกัน



ตามนี้

ต่อมาต้องบอกเลยว่าหลายคนอาจจะไม่ได้อ่านกฎข้อสุดท้ายของการลงทะเบียนหากใครไม่ใส่ข้อมูลตามจริง หรือปิดบังข้อมูลจะต้องคืนเงินให้กับทางกระทรวงการคลังภายใน90วัน โดยได้บอกเอาไว้ว่า





ข้าพเจ้าได้อ่าน รับทราบ และตกลงยินยอมปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของมาตรการฯ หากข้าพเจ้าไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของมาตรการฯ ข้าพเจ้ายินยอมให้กระทรวงการคลังหรือผู้จัดทำระบบให้กระทรวงการคลังสั่งระงับการจ่ายเงินชดเชยตามมาตรการฯ และตรวจสอบการกระทำดังกล่าว หากตรวจสอบแล้วพบว่าข้าพเจ้ากระทำผิดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของมาตรการฯ จริง ให้กระทรวงการคลังหรือผู้จัดทำระบบให้กระทรวงการคลังระงับสิทธิในการได้รับเงินชดเชยตามมาตรการฯ และข้าพเจ้าจะเป็นผู้รับผิดชอบจ่ายเงินชดเชย ที่ได้รับไปแล้วคืนให้แก่รัฐภายใน 90 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการระงับสิทธิดังกล่าว ตามวิธีการที่กระทรวงการคลังหรือผู้จัดทำระบบให้กระทรวงการคลังกำหนด ทั้งนี้ ให้การตัดสินของกระทรวงการคลังถือเป็นที่สุด



ภาพดังกล่าว



ภาพดังกล่าว



ภาพดังกล่าว



ตามนี้

ล่าสุดมีผู้ใช้เฟสบุ๊คชื่อ Dr Pete Peerapat ซึ่งเป็นเฟสบุ๊คของ ดรพีรภัทร ฝอยทอง CFP ทนายความและที่ปรึกษากฎหมาย

Loading...

เช็คดี ๆ นะคะ ใครไม่เคยเสียภาษีเลย ทำงานอิสระเงินเข้าบัญชีต่อปีเท่าไหร่ ถ้าเกิน 150000 ตรวจย้อนหลังเจอเสียภาษีสองเท่านะคะ ชิมช้อปใช้มีคนโดนมาแล้ว

1 เกณฑ์การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ผู้ที่มี เงินได้สุทธิ ไม่ใช่รายได้ เกิน 150000 บาทต่อปีต้องเสียภาษี

ซึ่งเงินเข้าบัญชี ไม่ได้ถือว่า เป็นเงินได้สุทธิทันที เพราะเรายังสามารถหักค่าใช้จ่าย + ค่าลดหย่อนได้ตามกฎหมายอีก

ซึ่งค่าใช้จ่ายที่หักได้นั้นมีทั้งแบบเหมาจ่าย 40-60% หรือ หักค่าใช้จ่ายตามจริง ขึ้นอยู่กับประเภทกิจการที่ทำ

ดังนั้น มีเงินเข้าแค่ 150 000 ต่อปี หักค่าใช้จ่าย ค่าลดหย่อน เหลือไม่ถึง 100,000 บาท ไม่ถึงเกณฑ์เสียภาษีหรอกครับ

2 กรณี เงินโอนเข้า150000บาทต่อปี ธนาคารไม่ได้ส่งข้อมูลให้สรรพากรนะครับ

ธนาคารจะส่งข้อมูลบัญชีเราให้สรรพากรเมื่อเข้าเงื่อนไข ต่อไปนี้

มีเงินฝาก หรือ โอนเข้าบัญชีเกิน 3,000 ครั้งขึ้นไป (ต่อปี)



หรือ

มีเงินฝาก หรือ โอนเข้าเกิน 400 ครั้งขึ้นไป ต่อปี และ มีมูลค่ารวม 2 ล้านบาทขึ้นไป

ดังนั้น เงินโอนเข้าแค่ 150000 บาท และได้รับโอน 3000 ครั้งขึ้นไป ธนาคารไม่ได้ส่งข้อมูลให้สรรพากรแน่นอน

3 ชิมช้อปใช้ มีคนโดนมาแล้ว ไม่จริงเลย เพราะชิมช้อปใช้ไม่ได้มีเกณฑ์เรื่องรายได้ของคนรับเงินแต่อย่างใด

ถ้าจะมีเกณฑ์เรื่องรายได้ น่าจะเป็นเรื่องบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ บัตรคนจน ที่กำหนดว่าคนขอรับเงินต้องมีรายได้ไม่เกิน 100000 บาทต่อปี

ข้อความในรูปที่สองถึงรูปสุดท้าย

ข้าพเจ้าจะเป็นผู้รับผิดชอบจ่ายเงินชดเชย ที่ได้รับไปแล้วคืนให้แก่รัฐภายใน 90 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการระงับสิทธิดังกล่าว

ในกรณีที่รัฐได้ดำเนินการตามข้อ 2.5 แล้ว รัฐอาจใช้สิทธิในการที่จะดำเนินคดีทางแพ่งหรือทางอาญาต่อไป”

1 สองข้อความนี้ เอามาจากข้อตกลงเงื่อนไขก่อนที่จะกดรับสิทธิรับเงินเยียวยา 5000 บาท

2 การรับเงินเยียวยา 5000 บาทนี้ ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องภาษีในโพสต์แรกแต่อย่างใด

3 ข้อความนี้หมายถึง คนที่ไปขอรับเงินเยียวยาโดยไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่รัฐกำหนด พูดง่าย ๆ คือไป กรอกข้อมูลเท็จ นั่นแหละครับ



เช่น

เราไม่ได้ทำงาน แต่ไปกรอกว่าขายของที่ตลาดนัด แล้วตลาดถูกปิด ต่อมารัฐบาลไปตรวจสอบเจอว่า คุณไม่ได้ทำงาน

แบบนี้หากรัฐบาลจ่ายเงิน 5000 บาทให้คุณไปแล้ว และตรวจสอบเจอทีหลัง คุณก็จะต้องคืนเงินให้รัฐบาลภายใน 90 วัน

รวมทั้งรัฐบาลอาจจะดำเนินคดีกับเราได้ ฐานนำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จสู่ระบบคอมพิวเตอร์

สรุป โพสต์นี้เป็นการจับแพะชนแกะ มั่วเอาข้อมูลหลาย ๆ เรื่องมาผสมกัน จนคนหลงเชื่อและแชร์กันไปเป็นหมื่นแล้วในตอนนี้

ข้อมูลที่ถูกต้อง คือ

ถ้าใครถึงเกณฑ์เสียภาษี เงินได้สุทธิเกิน 150,000 บาทต่อปี แล้วไม่ยื่นแบบเสียภาษี หากสรรพากรตรวจเจอ คุณจะโดนเบี้ยและเงินเพิ่ม

ถ้าคุณให้ข้อมูลเท็จ คือ จริง ๆ คือไม่มีสิทธิได้เงิน 5000 บาท คุณจะโดนดำเนินคดีแน่นอน

โพสต์ดังกล่าว



อย่างไรก็ตาม อยากจะให้ประชาชนทุกคนอ่านรายละเอียดให้ดีก่อนจะแตกตื่นกันนะคะ เพราะถ้าหากใครเดือดร้อนจริงๆ ก็จะได้รับเงินเยียวยาเหมือนกันค่ะ

ขอบคุณที่มาจาก Dr Pete Peerapat , ข่าวไทย

0 comments:

Post a Comment