ล่าสุด คลื่นลูกที่ 2 โควิด ถล่มโซล เกาหลีใต้




ล่าสุด คลื่นลูกที่ 2 โควิด ถล่มโซล เกาหลีใต้

เรียกว่าตอนนี้มีหลายประเทสเริ่มคลายล็อคดาวน์ แต่ก็มีผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น ซึ่งตอนนี้ที่เกาหลีใต้มีผู้ติดเชื้อ เป็นคลื่นลูกที่ 2 แล้ว เรียกว่าเป็นกรณีศึกษาที่หลายประเทศพูดถึง

ล่าสุด การแพร่ระบาด ‘โควิด-19’ ระลอกที่ 2 เกิดขึ้นที่ประเทศเกาหลีใต้ สร้างความหวาดระแวงทั้งชาวเกาหลีเอง ยันชาวต่างชาติที่ได้รับรู้ข่าวดังกล่าวนี้ เพราะตลอดหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา สถานการณ์การแพร่ระบาดเริ่มคลี่คลาย จากตัวเลขผู้ป่วยติดเชื้อรายใหม่ในแต่ละวันอยู่ที่หลักร้อย ก็ลดลงเหลือเพียงหลักสิบ เตรียมกลับมาใช้ชีวิตแบบ “ปกติใหม่” (New Normal)

แต่เพียงแค่การเริ่มต้นกลับมาใช้ชีวิตปกติใหม่ กลับต้องย้อนสู่ “วังวนแห่งความกลัว” อีกครั้ง



การแพร่ระบาดโควิด-19 (COVID-19) ในประเทศเกาหลีใต้ระลอกที่ 2 นี้ คล้ายๆ กับเหตุการณ์ในระลอกแรกของหญิงวัย 60 ปี ที่เข้าร่วมพิธีทางศาสนา คือ พบบุคคลติดเชื้อ 1 ราย และขยายเป็นวงกว้างในเวลาต่อมา

แต่การแพร่ระบาดระลอกที่ 2 กลับพบว่า “ซับซ้อนและเสี่ยง” มากกว่าระลอกแรกที่ผ่านมา


ที่เรียกกันว่า ‘คลัสเตอร์อิแทวอน’



‘คลัสเตอร์อิแทวอน’ กำลังกลายเป็นสถานการณ์ฉุกเฉินในประเทศเกาหลีใต้อย่างไร?

‘ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์’ ขอพาคุณผู้อ่านไปลำดับเหตุการณ์พร้อมๆ กัน

ก่อนอื่นนั้น คงต้องย้อนกลับไปวันพุธที่ 6 พฤษภาคม 2563 ชายวัย 29 ปี ปรากฏผลตรวจยืนยันเป็น “บวก”

ซึ่งนั่นหมายความว่า “เขาติดเชื้อโควิด-19”

เมื่อทำการสอบสวนโรคก็พบว่า ตั้งแต่ช่วงเย็นวันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม และล่วงเลยไปจนถึงวันถัดไป ชายวัย 29 ปี ได้เดินทางไปสังสรรค์ที่คลับภายในย่านอิแทวอนถึง 3 แห่ง!!

“ย่านอิแทวอน” ที่ว่านี้ ถือเป็นแหล่งสถานบันเทิงยามค่ำคืนที่มีคนพลุกพล่าน และยังเป็นศูนย์รวมของนักท่องเที่ยวต่างชาติอีกด้วย

นี่คือ จุดเริ่มต้นการติดเชื้อแบบกลุ่มก้อน (Cluster) ที่เรียกว่า ‘คลัสเตอร์อิแทวอน’



โดยเมื่อวันจันทร์ที่ 11 พฤษภาคมที่ผ่านมา ‘ปาร์ค วอน ซุน’ นายกเทศมนตรีกรุงโซล ได้ออกมาเตือนด้วยน้ำเสียงเรียบนิ่งว่า “หากกรุงโซลสูญเสีย ประเทศก็สูญเสียด้วย”

หลังพบว่า ตัวเลขผู้ป่วยติดเชื้อสะสมที่มีความเชื่อมโยงกับ ‘คลัสเตอร์อิแทวอน’ นั้นเกิน 100 รายแล้ว ซึ่งเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว และยังแซงหน้า ‘คลัสเตอร์คอลเซ็นเตอร์’ (Call Center) ที่มีตัวเลขผู้ป่วยติดเชื้อสะสม 97 รายในช่วงเดือนมีนาคมอีกด้วย

นับว่า ‘คลัสเตอร์อิแทวอน’ กลายเป็นการติดเชื้อแบบกลุ่มก้อนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศเกาหลีใต้ ณ เวลานี้

ขณะที่ ตัวเลขผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ยืนยันสะสม ณ วันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม 2563 ก็อยู่อันดับที่ 43 รวม 11,018 ราย และเสียชีวิตสะสม 260 ศพ

นอกจากมาตรการเชิงรุกของสำนักงานตำรวจแห่งชาติแล้ว รัฐบาลเกาหลีใต้ทำอะไรอีกบ้างในการปราบปรามและควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19?

หาคำตอบผ่าน “รายงานของนายกเทศมนตรีกรุงโซล” ไปพร้อมๆ กัน

เบื้องต้น ตัวเลขบุคคลที่เคยเดินทางไปย่านอิแทวอนในช่วงเวลาเดียวกับชายวัย 29 ปี ที่ทางนายกเทศมนตรีกรุงโซลสืบทราบ มีประมาณ 11,000 ราย ซึ่งต้องมีการไล่ติดตามเพื่อดำเนินการยืนยันตัวตนให้ได้โดยเร็ว

ซึ่งวิธีการที่นายกเทศมนตรีกรุงโซลหยิบยกมาใช้ เช่น การติดตามผ่านข้อมูลการใช้โทรศัพท์มือถือ จากนั้นส่งข้อความ หรือ เอสเอ็มเอส (SMS) แจ้งข้อมูลเพื่อให้พวกเขาเหล่านั้นเข้ามารับการตรวจหาเชื้อโควิด-19 อย่างเร่งด่วน และยังติดตามผ่านข้อมูลการทำธุรกรรมบัตรเครดิต ซึ่งทำให้พบบุคคลที่เคยไปย่านดังกล่าวในช่วงเวลานั้นเพิ่มอีก 500 รายชื่อ

และจากรายงานของหน่วยงานด้านสาธารณสุขของกรุงโซล พบว่า ณ วันจันทร์ที่ 11 พฤษภาคมที่ผ่านมา กว่า 7,000 รายที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับ ‘คลัสเตอร์อิแทวอน’ ได้รับการตรวจหาเชื้อโควิด-19 เรียบร้อยแล้ว

Loading...

แต่ก็ยังเหลืออีกประมาณ 2,000 รายที่ยังไม่ได้รับการยืนยันตัวตน ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้กระจายกำลังไล่ติดตามแล้ว และสำหรับบุคคลใดที่มีการยืนยันตัวตนเรียบร้อยแล้ว ขั้นต่อไปจะต้องเข้ารับการสอบถามโดยเจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบ และได้รับข้อความยืนยันอีกครั้ง

เรียกได้ว่า การติดตามเส้นทางการติดต่ออย่างเข้มงวดและการตรวจสอบหาเชื้อโควิด-19 อย่างแข็งขัน เป็น “กุญแจแห่งความสำเร็จ” ในการรับมือการแพร่ระบาดของประเทศเกาหลีใต้

โดยหน่วยงานด้านสาธารณสุขก็ได้ทำโครงร่างวิธีการที่ประเทศเกาหลีใต้ใช้ในการปราบและควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 ลงใน Detailed Playbook ด้วย ซึ่งประชาชนเองก็มีส่วนร่วมในการให้ความช่วยเหลือด้วยการบันทึกข้อมูลแหล่งที่ตั้งหรือหมุดหมายการเดินทางด้วยการใช้ฟังก์ชัน “Timeline” (ไทม์ไลน์) บน Google Map แอปพลิเคชันของกูเกิล ซึ่งพวกเขาสามารถแบ่งปันหรือแชร์ข้อมูลเพื่อใช้ในการแกะรอยการติดต่อ หากเจ้าหน้าที่รัฐมีความจำเป็นต้องนำไปใช้สอบสวนโรค

สำหรับแพลตฟอร์มการแกะรอยการติดต่อ หรือที่เรียกว่า Contact Tracer ที่เปิดตัวครั้งแรกเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยมีการรวบรวมข้อมูลจาก 3 บริษัทยักษ์ใหญ่ที่ให้บริการด้านโทรคมนาคม และอีก 22 บริษัทบัตรเครดิต ซึ่งช่วยให้ภาครัฐสามารถแกะรอยเคสผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ได้ภายในเวลาเพียงแค่ 10 นาทีเท่านั้น



ไปดูกันที่อีกซีกโลกอย่าง ‘สหรัฐอเมริกา’ กันบ้าง

รอบสัปดาห์ที่ผ่านมา นอกจากตัวเลขผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ยืนยันสะสมที่มีจำนวน 1.4 ล้านรายแล้ว ก็มีเรื่องราวที่น่าสนใจซึ่งเป็นผลกระทบจากการแพร่ระบาดครั้งนี้ และเป็นสิ่งที่เราเองก็ต้องรู้เอาไว้

… เพราะโควิด-19 (COVID-19) ได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ (e-Commerce) สร้างผู้ชนะและผู้แพ้อย่างรวดเร็วเกินกว่าที่ผู้เล่นจะปรับตัวได้ทัน

1. ร้านค้าที่ปิดกิจการชั่วคราว อาจต้องถึงคราวปิดกิจการถาวร

หมายความอย่างไร?

บริษัทด้านการลงทุนในสหรัฐฯ มองว่า ไม่ว่าพวกเขาจะยังคงปิดร้านอยู่ หรือกลับมาเปิดอีกครั้งทันทีหลังผ่อนคลาย แต่สุดท้ายแล้วในปี 2568 ร้านค้าในสหรัฐฯ มากกว่า 100,000 แห่งจะต้องปิดตัวลงอย่างแน่นอน

2. ห้างสรรพสินค้าอาจต้องจากลาเร็วกว่าเดิม

หมายความอย่างไร?

การแพร่ระบาดโควิด-19 จะทำให้ห้างสรรพสินค้าสูญเสียรายได้ค่าเช่ามากกว่า 90% ของจำนวนผู้เช่าร้านค้าทั้งหมด และศูนย์กลางการช็อปปิ้งบางแห่งที่เร่งกลับมาเปิดใหม่ภายใต้แนวทางปฏิบัติการทางสาธารณสุขที่ไม่แน่นอนนี้ก็มีความเสี่ยงที่จะต้องหายไป



3. ฝันร้ายของเหล่าแฟชั่นดีไซเนอร์อิสระ

หมายความอย่างไร?

นับจากนี้ แบรนด์เล็กๆ อาจมีการปฏิบัติงานภายใต้ข้อจำกัดทางด้านงบประมาณที่อาจต้องมีการรัดกุมมากขึ้น ซึ่งส่วนมากมักจะใช้กำไร 1 ไตรมาส เป็นงบประมาณในการลงทุนครั้งต่อไป และสำหรับแบรนด์ทั้งหลายก็ขอบอกว่า การต่อสู้ดิ้นรนเอาชีวิตรอดกำลังจะมาถึงแล้ว

สุดท้าย 4. บางครั้งการส่งเสริมการขายอาจไม่เพียงพอ

หมายความอย่างไร?

‘จูเมีย’ บริษัทแพลตฟอร์มอี-คอมเมิร์ซรายใหญ่ในแอฟริกา รายงานว่า กว่า 7% ของธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ มีรายได้อยู่ในภาวะตกต่ำ แม้ว่าจะมียอดคำสั่งซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคในร้านค้าเพิ่มขึ้นถึง 4 เท่าก็ตาม

เรียกว่าตอนนี้ เกาหลีใต้ ถือเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีการติดเชื้อเพิ่มขึ้น หลังคลายล็อคดาวน์

ขอขอบคุณที่มา : ไทยรัฐ

0 comments:

Post a Comment