5 เรื่องที่หัวหน้า สร้างปัญหาให้ลูกน้อง..แต่ไม่รู้ตัว



5 เรื่องที่หัวหน้า สร้างปัญหาให้ลูกน้อง..แต่ไม่รู้ตัว

1. สั่งประชุมพร่ำเพรื่อไม่มีรูปแบบชัดเจน

การประชุมบ่อยๆ หลายคน อาจคิดว่ามันจะช่วยให้งานเดิน ทำให้ทุกคนได้ระดมความคิด และสามารถพัฒนา ผลงานให้ดีขึ้นได้อย่างที่คาดหวัง ซึ่งนี่เป็นสิ่งที่หัวหน้าต้องการ แต่ในความเป็นจริงการจัดประชุมเป็นประจำ หรือพร่ำเพรื่อแบบไม่มีระบบ ไม่มีแบบแผน ไม่มีการวางแผนมาเป็นอย่างดี

มีแต่จะทำให้เสียเวลาในการทำงานมากขึ้นไป อย่างน่าเสียดาย พนักงานทุกคนต่างมีหน้าที่เป็นของตัวเอง การประชุมทำให้เขาสูญเสียเวลาในการทำงานตรงนั้นลง ยิ่งถ้าคุณจัดประชุมบ่อยครั้งเข้า

ยิ่งทำให้เขาเสียเวลา และอาจต้องมาทำงานล่วงเวลาด้วยก็ได้ ซึ่งไม่มีพนักงานคนไหนต้องการ และนี่อาจเป็นตัวการที่ทำให้ลูกน้องไม่ชอบคุณเช่นกัน

2. ต่อว่าพนักงาน แต่ไม่เคยชื่นชม

เมื่อพนักงานทำผิด คุณมักจะตำหนิ พวกเขาทันทีหรือไม่ การตำหนิไม่ใช่เรื่องผิด แต่สิ่งที่ผิดคือ การที่คุณตำหนิต่อหน้าพนักงานคนอื่น หรือต่อหน้าคนจำนวนมาก เพื่อสร้างความอับอาย เพราะจะทำให้พนักงานรู้สึกโดน ทำ ร้ า ย จิตใจ และไม่มีความมั่นใจในการทำงานอะไรอีกเลย

รวมถึงอาจเกิดความบาดหมางในใจ ที่มีต่อคุณด้วย นอกจากนี้ถ้าคุณเก่งแต่ตำหนิ แต่ไม่เคยเอ่ยปากชมเอง ก็จะทำให้พนักงานรู้สึกไม่มีความสุข ไม่สบายใจที่จะอยู่ใกล้คุณ หรือทำงานร่วมกับคุณเหมือนกัน เพราะไม่ว่าจะทำอะไรก็มีแต่เสมอตัว หรือไม่ก็โดนต่อว่าเท่านั้น แต่ไม่เคยได้รับคำชมจากคุณเลย

3. รับรู้ทุกปัญหาแต่กลับมองข้าม

การเป็นหัวหน้า นั่นคือต้องเป็นที่พึ่งพา ของลูกน้องทั้งหลายได้ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องอะไรก็ตาม หัวหน้าต้องสามารถแก้ไขหรือช่วยเหลือเขาได้ โดยเฉพาะปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์กร ซึ่งถ้าคนเป็นหัวหน้ารับรู้ทุกอย่างดีแต่ไม่เคยแก้ไข ไม่เคยทำให้มันถูกต้องเลย

พนักงานทั้งหลาย ก็จะมองว่าไม่ยุติธรรม หรือทำงานกับหัวหน้าแบบนี้ต่อไปก็ไม่มีอะไรดีขึ้น มีแต่จะสร้างความ ป ว ด หั ว หรือลำบากให้กับพวกเขามากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับปัญหาที่เกิดจากคนทำงานด้วยกัน พนักงานทะเลาะกัน

หรือการเมืองภายใน สิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่ต้องรีบแก้ไข เพื่อให้พนักงานทุกคนอยากทำงานร่วมกับคุณและเข้าใจว่าคุณเป็นธรรมกับทุกอย่างจริงๆ

4. ไม่ให้คำตอบในเรื่องสำคัญสักที

ทุกๆ องค์กรจะต้องเคย มีปัญหาใหญ่เข้ามาให้ได้ตัดสินใจกัน ซึ่งอำนาจตัดสินใจปัญหาเหล่านี้มาจากหัวหน้าโดยตรงแค่เพียงคนเดียวเท่านั้น และการตัดสินใจในเรื่องราวเหล่านั้นล่าช้า ก็จะยิ่งทำให้พนักงานทำงานยากเข้าไปใหญ่ ซึ่งเรื่องนี้อาจดูเผินๆ เหมือนเป็นปัญหาเล็กน้อย

แต่ในความจริงมันกลับสร้างความวุ่นวาย ในการทำงานให้พนักงานไม่น้อย เพราะสุดท้ายพอคุณตัดสินใจเสร็จ คนที่จะเริ่มทำงานต่อก็คือลูกน้อง และนั่นเท่ากับเขาเหลือเวลาในการทำงานน้อยลง ถ้าคุณตัดสินใจได้ไวขึ้น เขาก็มีเวลาเยอะ งานที่ได้ก็จะออกมามีประสิทธิภาพมากขึ้น

เพราะฉะนั้นต่อให้คุณจะงานยุ่งแค่ไหน แต่ก็ควรจะวางตารางให้กับเรื่องที่มันส่งผลกระทบกับใครหลายๆ คนด้วย เคลียร์งานที่มันเกี่ยวข้องกับคนหมู่มากก่อน แล้วค่อยดำเนินการอื่นๆ ก็ยังได้

5. มอบหมายงานที่มากเกินไป

แน่นอนว่าการจ้างงานพนักงาน ในตำแหน่งหน้าต่างๆ แล้วก็หวังว่าเขาจะทำงานอย่างคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไป แต่อย่าลืมว่าพนักงานไม่ใช่หุ่นยนต์ การทำงานที่มากมายโดยได้เงินเดือนเท่าเดิม มีแต่จะทำให้พวกเขารู้สึกไม่ดีกับคุณมากขึ้นเท่านั้น

นอกเสียจากว่าคุณจะมอบหมายงานและจ่ายมันตามผลงานจริง อย่างการจ้างงานฟรีแลนซ์ หรือการมีคอมมิชชั่น ให้พวกเขาด้วย แบบนั้นจะยิ่งสร้างความดีใจ เพราะถ้าเขาได้ทำงานเยอะก็เท่ากับพวกเขามีรายได้มากขึ้นเช่นกัน

ขอขอบคุณ b a n g k o k b a n k s m e

0 comments:

Post a Comment