สกัดโควิดเข้ม!! มหาสารคาม ประกาศ พื้นที่เฝ้าระวังสูงทั้งจังหวัด ให้ ปชช. งด/ชะลอ เดินทางข้ามเขต – ติดตั้งแอป “หมอชนะ”



สกัดโควิดเข้ม!! มหาสารคาม ประกาศ พื้นที่เฝ้าระวังสูงทั้งจังหวัด ให้ ปชช. งด/ชะลอ เดินทางข้ามเขต – ติดตั้งแอป “หมอชนะ”

วันที่ 13 ม.ค.64 ประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดมหาสารคาม ฉบับที่ 2/2564 เรื่อง มาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) จังหวัดมหาสารคาม มีรายละเอียดดังต่อไปนี้



ข้อ 1 กําหนดให้จังหวัดมหาสารคาม เป็นพื้นที่เฝ้าระวังสูงทุกอําเภอ ทุกตําบล และกําหนดให้ นายอําเภอเป็นผู้บริหารพื้นที่ระดับอําเภอ
ข้อ 2 มาตรการป้องกันโรคของจังหวัดมหาสารคาม ให้ปฏิบัติดังนี้

2.1 ให้สถานศึกษาทุกแห่ง ทุกประเภทของรัฐและเอกชน รวมทั้งสถาบันกวดวิชา ตําเนินการ ป้องกันควบคุมโรคตามมาตรการทางด้านสาธารณสุขโดยเคร่งครัดอย่างเต็มที่ดความสามารถ และขอให้ ใช้รูปแบบการสอนแบบออนไลน์ตามความเหมาะสม
2.2 ให้สถานที่ราชการ รัฐวิสาหกิจ และเอกชนทุกแห่ง ดําเนินการป้องกันควบคุมโรค ตามมาตรการทางด้านสาธารณสุขโดยเคร่งครัดอย่างเต็มขีดความสามารถและขอให้ใช้มาตรการลดความแออัด โดยเหลื่อมเวลาการทํางาน หรือ Work From Home อย่างเต็มขีดความสามารถ
2.3ให้ตลาด ตลาดนัด ตลาดสดทั้งของภาครัฐและเอกชน ตลาดนัดโคกระบือ รากแห้ง ดําเนินการป้องกันควบคุมโรคตามมาตรการทางด้านสาธารณสุขโดยเคร่งครัดอย่างเต็มขีดความสามารถ
2.4 ให้ประชาชนสวมหน้ากากผ้า/หน้ากากอนามัย ล้างมือ เว้นระยะห่างเป็นประจํา และลงทะเบียนด้วยแอปพลิเคชัน “ไทยชนะ” ทุกครั้งที่เข้าไปในสถานที่หรือร่วมกิจกรรมที่มีการรวมตัวของประชาชนจํานวนมาก และใช้แอปพลิเคชัน “หมอชนะ” เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากการ ได้รับแจ้งข้อมูล ข้อแนะนําการปฏิบัติตนหรือคําเตือนเพื่อลดความเสี่ยงหรือเสี่ยงจากการติดเชื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลที่เดินทางมาจากพื้นที่ควบคุมสูงสุดเพื่อให้การดําเนินการสอบสวนโรคและการเฝ้าระวังโรค เป็นไปด้วยความรวดเร็ว ควบคู่กับการใช้แอปพลิเคชัน “ไทยชนะ” เพื่อให้การดําเนินการได้ผลสัมฤทธิ์ด้วยดี



2.5 ให้มีการค้นหาผู้ติดเชื้อเชิงรุกในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม
ผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่ควบคุมสูงสุด ให้ไปรายงานตัว ณ สถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้าน เพื่อให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขประเมินอาการและความเสี่ยงในการติดเชื้อ และให้กักกันตัวเองที่บ้าน 14 วัน
สําหรับผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่ควบคุมและพื้นที่เฝ้าระวังสูง (นอกจังหวัดมหาสารคาม) ให้ไปรายงานตัว ณ สถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้านเพื่อให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขประเมินอาการและความเสี่ยงในการติดเชื้อ และขอความร่วมมือเฝ้าสังเกตอาการตัวเองที่บ้าน 14 วัน


2.6 ให้มีการจัดตั้งด่านในเส้นทางหลัก จํานวน 5 ด่าน เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19)
2.7 ให้ทุกอําเภอจัดทีมหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อ (CDCU) และชุดปฏิบัติการ เคลื่อนที่เร็วให้พร้อมปฏิบัติงานตลอดเวลา
2.8 ให้ประชาชนงดหรือชะลอการเดินทางข้ามเขตพื้นที่จังหวัด เว้นแต่มีกรณีเหตุจําเป็น ซึ่งต้องแสดงเหตุผลและหลักฐานต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ รวมทั้งเข้ารับการตรวจคัดกรองและต้องปฏิบัติตาม มาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกําหนด อันอาจทําให้ไม่ได้รับความสะดวกในการเดินทางและทําให้ ต้องใช้ระยะเวลาการเดินทางมากกว่าปกติ และมีแนวทางปฏิบัติสําหรับผู้ที่เดินทางเข้า-ออกพื้นที่ควบคุมสูงสุด และเข้มงวด 5 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดสมุทรสาคร ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ดังนี้

2.8.1 ผู้ประสงค์เดินทางทั่วไป ให้แสดง “เอกสารรับรองความจําเป็น” โดยยื่นคำขอต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง หรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองในพื้นที่
กรณีผู้ประสงค์จะเดินทางทั่วไป ที่อยู่นอกพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 5 จังหวัด (จังหวัดสมุทรสาคร ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราต) สามารถยื่นคําขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง หรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองในพื้นที่ของตนได้ เพื่อใช้ “เอกสารรับรองความจําเป็น” ในการเดินทางทั้งไปและกลับ พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด โดยให้แสดง “เอกสารรับรองความจําเป็น” ฉบับดังกล่าวต่อเจ้าหน้าที่ประจํา จุดตรวจหรือจุดสกัด

Loading...

2.8.2 ผู้ประสงค์จะเดินทางซึ่งปฏิบัติหน้าที่ ดังต่อไปนี้
1) ผู้ขนส่งสินค้าเพื่อประโยชน์และการดํารงชีวิตของประชาชน เช่น อาหาร ยา เวชภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์ สินค้าอุปโภคบริโภค น้ํามันเชื้อเพลิง วัสดุ/สินค้าอุตสาหกรรม ไปรษณียภัณฑ์ พัสดุภัณฑ์ หนังสือพิมพ์ เป็นต้น และสินค้าเพื่อการน้ําเข้าหรือส่งออก
2) ผู้ปฏิบัติงานในกิจการ/กิจกรรมเพื่อประโยชน์ด้านสาธารณูปโภค สาธารณูปการ การสื่อสารโทรคมนาคม การก่อสร้าง การซ่อมบํารุงต่างๆ และพนักงานที่ทํางานในสถานประกอบการ/ โรงงาน
3) ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์ การธนาคาร การศึกษา การขนส่งประชาชน/บุคคลไปสู่ ที่เอกเทศเพื่อกักกันตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ
4) เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามข้อกําหนด ประกาศ หรือคําสั่งต่างๆ ของทางราชการให้แสดง “เอกสารรับรองการปฏิบัติหน้าที่” โดยยื่นคําขอต่อผู้ประกอบการ/นายจ้าง/ บริษัท/หัวหน้าหน่วยงานของรัฐ แล้วแต่กรณี

2.8.3 บุคคลที่มีความจําเป็นต้องติดต่อราชการ ให้แสดง “เอกสารรับรองการติดต่อราชการ” โดยยื่นคำขอต่อหัวหน้าส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐที่บุคคลได้ไปติดต่อราชการ

ทั้งนี้ ให้ผู้ที่ประสงค์จะเดินทาง ติดตั้งและใช้ระบบแอปพลิเคชัน “หมอชนะ”


ข้อ 3 ให้ปิดสถานที่ซึ่งมีโอกาสเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) ในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม ดังนี้ (1) สนามชนไก่ (2) สนามกัดปลา (3) สนามซ้อมขนไก่ทุกแห่งในจังหวัดมหาสารคาม


ข้อ 4 ให้สถานบริการหรือสถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายสถานบริการ ผับ บาร์ คาราโอเกะ โรงภาพยนตร์ ร้านเกมส์ ร้านสนุกเกอร์ ร้านอินเตอร์เน็ต ร้านเสริมสวย แต่งผมหรือตัดผม และ สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ (นวดเพื่อสุขภาพ นวดเพื่อเสริมความงามและสปา) ทุกแห่งในจังหวัดมหาสารคาม เข้มงวดการดําเนินการป้องกันควบคุมโรคตามมาตรการทางด้านสาธารณสุขโดยเคร่งครัด อย่างเต็มขีดความสามารถ ทั้งนี้ ให้สถานบริการ หรือสถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายสถานบริการ ปิดบริการภายในเวลา 24:00 นาฬิกา

ข้อ 5 ให้งดการเคลื่อนย้ายของแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ กัมพูชา ลาว และเมียนมา ในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม โดยให้นายจ้าง สถานประกอบการที่จ้างแรงงานต่างด้าว กํากับ ดูแลและควบคุมแรงงาน ต่างด้าวมีให้แรงงานต่างด้าวเคลื่อนย้าย เดินทางเข้า-ออกนอกเขตอําเภอซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานที่ทํางาน

ห้ามเคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ กัมพูชา ลาว และเมียนมา ในทุกกรณี ทั้งเข้ามา และออกจากจังหวัดมหาสารคาม

ข้อ 6 ให้งดการจัดกิจกรรมที่มีประชาชนเข้าร่วมเป็นจํานวนมาก หากมีเหตุผลความจําเป็นอย่างยิ่ง ให้ขออนุญาตต่อนายอําเภอท้องที่ พร้อมทั้งแสดงเอกสารแผนการจัดงานและดําเนินการป้องกัน ควบคุมโรคตามมาตรการทางด้านสาธารณสุขโดยเคร่งครัดอย่างเต็มขีดความสามารถและให้พนักงาน เจ้าหน้าที่ในพื้นที่นั้นติดตามการปฏิบัติตามมาตรการทางด้านสาธารณสุขอย่างใกล้ชิด เว้นแต่เป็นการดําเนินการ โดยพนักงานเจ้าหน้าที่

อนึ่ง เนื่องจากเป็นกรณีที่มีความจําเป็นรีบด่วนหากปล่อยให้เนิ่นช้าไปจะก่อให้เกิดผลเสียหาย อย่างร้ายแรงแก่สาธารณชน หรือกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ จึงไม่อาจให้คู่กรณีใช้สิทธิโต้แย้ง ตามมาตรา 30 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539


ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับทุกพื้นที่ของจังหวัดมหาสารคาม ตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป จนกว่าจะได้มีประกาศเป็นอย่างอื่น และเมื่อบังคับใช้แล้ว บรรดาข้อบังคับหรือข้อความอื่นใด ของประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดมหาสารคาม ในส่วนที่กําหนดไว้แล้วก่อนหน้านั้นซึ่งขัดหรือ แย้งกับประกาศนี้ ให้ใช้ประกาศนี้แทน

หากผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศฉบับนี้ อาจเป็นความผิดตามมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท และอาจเป็นความผิด ตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ และอาจได้รับโทษตามมาตรา 18 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ตามข้อกําหนดตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 1)

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2564 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ประกาศ ณ วันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2564

(นายเกียรติศักดิ์ ตรงศิริ)
ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม
ประธานคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดมหาสารคาม
ผู้กํากับการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินจังหวัดมหาสารคาม


ข่าวดี!! แม่ค้าป่วยโควิด ชาวบรบือ รักษาหายแล้ว มหาสารคาม ปลอดเชื้อ

0 comments:

Post a Comment